วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มารู้จัก แบล็กฮอว์ค-ฮิวอี้ ฮ.ระดับสุดยอดของกองทัพ


รูปร่างของเฮลิคอปเตอร์แบบ UH-1   คุ้นเคยกับเด็กๆไทยในชนบท อย่างสนิทสนม เสียงใบพัดตัดอากาศของมันเรียกร้องให้เด็กๆเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้า เด็กเหล่านั้นไม่ทราบว่ามันบินมาจากไหน แต่เมื่อมันร่อนลงจอด บนสนามหญ้าหน้าโรงเรียน มันเสมือนเป็นแม่เหล็กที่มีแรงดึงดูดทำให้เด็กไทย ต้องแย่งกรูกันเข้าไปดูอย่างใกล้ชิด โดยที่ฝุ่นยังไม่ทันจาง มันได้สร้างความฝันให้แก่เด็กไทย ไม่น้อยไปกว่าเครื่องบินไอพ่นของคนเมือง แต่อย่างใด
   เมื่อได้ย้อนรอย กลับไปดูประวัติการรบของเฮลิคอปเตอร์ UH-1 ลำนี้แล้ว นักรบทุกคน ต่างยกย่องมัน ด้วยความสดุดี มันเป็นยุทโธปกรณ์สำคัญในสงครามเวียดนาม การปะทะในแนวหน้า ไม่เพียงแต่กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ส่งเครื่องบิน C-130 เข้าร่วมแล้ว เฮลิคอปเตอร์แบบ UH-1   คือ ตัวแทนกองทัพบกสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมรบกันอยู่ อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ และจากนั้นต่อมาสงครามการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย เฮลิคอปเตอร์ UH-1 ซึ่งกองทัพไทยได้รับมาจากผลพวงของสงครามเวียดนาม ถูกใช้เป็นอากาศยานหลักของกองทัพบกไทย ในการปฏิบัติการต่างๆ ทั้งในทางลับ ทางลึก และการเคลื่อนพลขนาดใหญ่   เฮลิคอปเตอร์ UH-1 มันได้เคยนำทหารไทยเข้าสู่สนามรบ พร้อมกับนำร่างทหารที่บาดเจ็บออกมารักษาตัว ห้องนักบินและพื้นระวางบรรทุกของ UH-1 เคยนองไปด้วยเลือดของเพื่อนทหารที่อุทิศชีวิตเพื่อชาติ เคยนำร่างไร้วิญญาณของทหารกลับไปสู่อ้อมอกแม่ ว่างเว้นจากการศึกสงครามมันได้นำนักกระโดดร่มขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อสร้างสีสันในงานวันเด็ก แล้ววนลงกลับมาจอดให้เด็กไทยได้สัมผัส กระทั่งในยามที่พี่น้องคนไทยประสบภัยพิบัติ UH-1 ยังเคยได้นำความช่วยเหลือไปส่งให้ อย่างมิได้ขาด   เฮลิคอปเตอร์ UH-1 ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพต่างๆเป็นจำนวนมาก ด้วยระยะเวลาอันยาวนาน มีการปรับปรุงและพัฒนาต่อมาหลายรุ่น เฮลิคอปเตอร์ UH-1 รุ่นแรกคือ ยุทโธปกรณ์ของทหารในแนวหน้า อย่างแท้จริง แต่เฮลิคอปเตอร์รุ่นหลัง กลับแตกต่างออกไป    จุดหักเหของเฮลิคอปเตอร์รุ่นหลัง ในกองทัพไทย เริ่มจากการโรยลาลงไปของภารกิจทางยุทธวิธี ซึ่งเคยเป็นหน้าที่หลัก เปลี่ยนไปเป็นม้าใช้เพื่อการเดินทางของบุคคลสำคัญ ทั้งในและนอกกองทัพ จิตวิญญาณของทหารได้เปลี่ยนไป บทบาทของ UH-1 จึงได้ถูกหักเปลี่ยนตามไปด้วย พื้นระวางบรรทุกของ UH-1 รุ่นหลังถูกปูด้วยพรมสะอาด จึงไม่อาจอนุญาตให้เด็กไทย เข้าไปดูได้ใกล้เหมือนเช่นเคยตำนานเฮลิคอปเตอร์UH-1   ตำนานของเฮลิคอปเตอร์UH-1 ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทเบลล์ (Bell) แห่งสหรัฐอเมริกา ย้อนหลังไปในปีค.ศ1950 ช่วงสงครามเกาหลี บทบาทของเฮลิคอปเตอร์ยังไม่มากนัก เพราะข้อจำกัดทางด้านสมรรถนะของเครื่องยนต์ลูกสูบ มันจึงทำหน้าที่เพียงส่งกำลังบำรุงในระยะใกล้ และนำทหารบาดเจ็บออกจากพื้นที่การรบ เมื่อเครื่องยนต์ไอพ่นได้ถูกพัฒนาขึ้น มีสมรรถนะสูงขึ้น บริษัทเบลล์ จึงได้นำไปติดตั้งในเครื่องต้นแบบของตนคือ  XH-40 เพื่อทำหน้าที่แทนรถพยาบาลในพื้นที่ห่างไกล    ในปี 1955 กองทัพบกสหรัฐฯ ร้องขอให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ พัฒนาเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ เพื่อใช้ในภารกิจการส่งกลับทางอากาศสายการแพทย์ (aeromedical evacuation) โดยเฉพาะเฮลิคอปเตอร์ XH-40 ของเบลล์ในรุ่นตัวถัง Models 204 ใช้เครื่องยนต์ Lycoming T-53 ขนาด 850 แรงม้า เป็นผู้ได้รับเลือก มีใบพัดหลักสองกลีบ เป็นฮลิคอปเตอร์แบบแรกของกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งใช้เครื่องยนต์ไอพ่น ขึ้นทดสอบบินครั้งแรกในเดือนตุลาคม 1956 พัฒนาต่อเนื่องจนเข้าสู่สายการผลิตในปี 1959 และถูกกำหนดรหัสในครั้งแรกให้เป็น HU-1 (Helicopter Utility ตามระเบียบของกองทัพบกสหรัฐ) แต่โดยทั่วไปมักคุ้นหูกันในนาม ฮิว-อี้(Huey)   ซึ่งสำเนียงการออกเสียงภาษาอังกฤษพยัญชนะตัวเอช ตามด้วยเสียงสระอูของตัวยู และต่อด้วยเลขหนึ่ง(คล้ายตัวไอ) ทำให้ทหารอเมริกันอ่านออกเสียง HU-1 ด้วยความรวบรัดว่า ฮิว-อี้(Huey) ต่อมาในปี ค.ศ.1962 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนดรหัสเรียกขานของอากาศยานทุกเหล่าในกองทัพ รหัสเรียกขานของฮิวอี้จึงเปลี่ยนมาเป็น UH-1(Utility Helicopter) พร้อมรหัสเรียกขานอย่างเป็นทางการว่า Iroquois เป็นชื่อของชนเผ่าอินเดียนแดง ทางตอนเหนือในทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูนัก ส่วนในทางพาณิชย์-พลเรือนมันถูกเรียกว่า Bell 204/205 แต่โดยส่วนใหญ่ยังคงนึกถึงเกียรติประวัติของมันในนาม ฮิวอี้   
   UH-1 ประจำการอยู่ในทั้งสี่เหล่าทัพของสหรัฐฯ มาอย่างยาวนานกว่าสี่สิบปี ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลายเวอร์ชั่น และยังได้ถูกนำไปประจำการในกองทัพต่างๆ มากกว่าสี่สิบประเทศ ในภารกิจที่แตกต่างกัน อาทิ ภารกิจกู้ภัยช่วยเหลือในหุบเขา การลำเลียงทหาร การโจมตีเป้าหมายภาคพื้น และในสงครามปราบเรือดำน้ำ

รายละเอียดของ ฮ.ฮิวอี้ มีดังนี้ ลูกเรือ 4 นาย (นักบิน นักบินผู้ช่วย หัวหน้าลูกเรือ และพลปืน ความจุ ทหาร 6-8 นาย ความยาว 12.69 เมตร  มี 2 ใบพัดเส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 14.6 เมตร ความสูง 4.4 เมตร น้ำหนักเปล่า 2,725.5 กก. น้ำหนักพร้อมบรรทุก 4,762.7 กก. น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 4,762.7 กก.ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แพรทท์ แอนด์วิทนีย์ สองเครื่องยนต์ ให้แรงขับเครื่องละ 900 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 220 กม.ต่อ ชม. พิสัย 460 กม. เพดานบินทำการ 17,300 ฟุต อัตราการไต่ระดับ 1,755 ฟุตต่อนาที อาวุธ จรวดขนาด 2.75 นิ้ว ปืนกลจีเอยู 16.50 คาลิเบอร์ ปืนกลจีเอยู 17 ขนาด 7.62 มม.หรือปืนกลน้ำหนักเบาเอ็ม 240 ขนาด 7.62 มม.



UH - 60 Black Hawk เป็นสี่ bladed, คู่เครื่องยนต์กลางยก เฮลิคอปเตอร์ยูทิลิตี้ ที่ผลิตโดย เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ .แสดงความคิดเห็น Sikorsky S - 70 การออกแบบสำหรับ กองทัพสหรัฐอเมริกา 's ระบบสาธารณูปโภคยุทธวิธีเครื่องบินขนส่ง (UTTAS) การแข่งขันในปี 1972 กองทัพบกที่กำหนดต้นแบบเป็น Yuh - 60A และที่เลือกฮอว์กดำเป็นผู้ชนะของโปรแกรมในปี 1976 หลังจากที่ได้มีการแข่งขันบินปิดด้วย เครื่องบินโบอิ้ง Vertol Yuh - 61 .
UH - 60A เข้าประจำการกับกองทัพบกในปี 1979 เพื่อแทนที่ Bell UH - 1 Iroquois เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนส่งทางยุทธวิธีของกองทัพบก นี้ตามด้วย Fielding ของสงครามอิเล็กทรอนิกส์และพันธุ์การดำเนินงานพิเศษของฮอว์กดำ ปรับปรุง UH - 60L และ UH - 60M พันธุ์ยูทิลิตี้ยังได้รับการพัฒนา รุ่นแก้ไขยังได้รับการพัฒนาขึ้นมาสำหรับกองทัพเรือสหรัฐและกองทัพอากาศสหรัฐฯ นอกเหนือจากการใช้กองทัพสหรัฐในครอบครัว UH - 60 ได้รับการส่งออกไปยังหลายประเทศเหยี่ยวดำได้ทำหน้าที่ในการต่อสู้ระหว่างความขัดแย้งในเกรนาดา, ปานามา, อิรัก, โซมาเลีย, บอลข่าน, อัฟกานิสถานและพื้นที่อื่น ๆ ในตะวันออกกลาง

รายละเอียดของ ฮ.แบล็กฮอว์ค มีดังต่อไปนี้  ลูกเรือ 4 นาย บรรทุกทหารได้ 14 นายและเปลหาม 6 อัน ความยาว 19.76 เมตร ความกว้างลำตัว 2.36 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 16.36 เมตร ความสูง 5.13 เมตร น้ำหนักเปล่า 4,819 กก. น้ำหนักพร้อมบรรทุก 9,980 กก. น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 10,660 กก.

ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์ของเจเนรัล อิเลกทริก กำลังขับเคลื่อนเครื่องละ 1,800 แรงม้า  ความเร็วสูงสุด 295 กม.ต่อ ชม. ความเร็วในการร่อน 278 กม.ต่อ ชม. รัศมีทำการรบ 592 กม. พิสัยในการเคลื่อนย้าย 2,220 กม. เพดานบนทำการ 19,000 ฟุต อัตราการไต่ระดับ 700 ฟุตต่อนาที อัตราน้ำหนักต่อแรงผลัก 0.192 แรงม้าต่อปอนด์ อาวุธปืนกลเอ็ม 240 เอชหรือเอ็ม 134 ขนาด 7.62 มม. 2 กระบอก

นอกจากประเทศไทยที่มี ฮ.แบล็กฮอว์คแล้ว ยังมีประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ซื้อจากสหรัฐอเมริกามาประจำกองทัพของประเทศตนเอง เช่น  ออสเตรเลีย ออสเตรีย ตุรกี จีน เกาหลีใต้ ใต้หวัน ฟิลิปปินส์ บาห์เรน ซาอุดิอาระบีย จอร์แดน อิสราเอล อียิปต์ โมร็อกโก บราซิล โคลอมเบีย ชิลี เม็กชิโก เป็นต้น


Credit by teenee.com ,http://en.wikipedia.org/wiki/Sikorsky_UH-60_Black_Hawk,

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่องของ Predator adiPower

เจเนอเรชั่นที่ 11 ของรองเท้าฟุตบอลสายพละกำลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
"Predator" จากอาดิดาส  ถูกเปิดตัวภายใต้ชื่อใหม่ว่า "adiPOWER"
 ซึ่ง
มาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหนักที่
ถูกลดลงจนกลายเป็น "Predator ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในประวัติศาสตร์"
และจะเป็นเจเนอเรชั่นแรกที่อาดิดาสเพิ่มสายการผลิตรองเท้าระดับสุดยอด
"adiPOWER Predator SL" อีกด้วย

เท่านั้นยังไม่พอสำหรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  เพราะในเจเนอเรชั่น
ใหม่ป้ายแดงนี้ได้ถูกเปิดตัวด้วยเฉดสี "ฟ้า-เขียว-ดำ" แทนที่สีออริจินัล
ที่ทุกคนต่างคุ้มเคย  และด้วยน้ำหนักของรองเท้าที่เบาเป็นประวัติศาสตร์จึง
ทำให้อาดิาสเลือกใช้พรีเซนเตอร์ที่มีสไตล์การเล่นที่รวดเร็วและดุดัน
ดังนั้นเราจึงได้เห็น "ริคาร์โด้ กาก้า" กลับมาเป็นพรีเซนเตอร์หลักให้กับ
"adiPOWER" อีกครั้ง โดยจะผนึกกำลังร่วมกับ "โรบิน ฟาน เพอร์ซี่"
และ "หลุยส์ นานี่"
 เพื่อแสดงถึงภาพลักษณ์ให้แก่รองเท้าที่มีทั้งความเร็ว
และความแข็งแกร่งในตัวของมันเองได้อย่างสมบูรณ์แบบ

   สำหรับกำหนดการเปิดตัว "Predator adiPower" อย่างเป็นทางการจาก
อาดิดาสคือวันที่  16 มิถุนายน (ค.ศ.) 2011  ซึ่งเป็นระยะเวลาเกือบจะครบ
สองปีแล้วที่รองเท้าฟุตบอลสายพันธุ์นักล่าเจเนอเรชั่นก่อนถูกเปิดตัว 


นักเตะชื่อดังที่ใช้ Predator adiPower : เดวิด เบ็คแฮม , ริคาร์โด้ กาก้า ,
สตีเวน  เจอร์ราร์ด , โรบิน ฟาน เพอร์ซี่ , หลุยส์ นานี่ , ซาบี้

 

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ GIS Part2

3.การทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Operation System)
การทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ
3.1 การวิเคราะห์ปัญหาหรือการกำหนดวัตถุประสงค์
การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นขั้นตอนแรกและสำคัญที่สุดในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับ
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทั้งนี้นักวิเคราะห์ GIS ต้องทราบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนก่อนการดำเนินงาน
ในขั้นตอนต่างๆ ว่าต้องการแก้ไขปัญหาอะไร ปัญหาดังกล่าวสามารถตอบได้โดย GIS หรือไม่ และผล
ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิเคราะห์คืออะไร และใครจะเป็นผู้นำ ผลการวิเคราะห์ไปใช้ในขั้นตอนต่อไป

3.2 การจัดเตรียมฐานข้อมูล
1) การนำเข้าข้อมูล (Data Input) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การนำเข้า
ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) และข้อมูลบรรยายหรือข้อมูลทั่วไป การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นการ
แปลงข้อมูลเชิงพื้นที่ให้เป็นข้อมูลเชิงตัวเลข (Digital Data) ซึ่งสามารถนำเข้าได้หลายวิธี เช่น
Digitizing Table, คีย์บอร์ด (Computer Keyboard) สแกนเนอร์ (Scanner) นำเข้าข้อมูลแผ่นฟิล์ม
(File Importation) และแปลงค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่ได้จากเครื่อง Global Positioning System
(GPS) ทั้งนี้โปรแกรม (Software) ที่ใช้ในการนำเข้ามีหลายโปรแกรม เช่น ArcInfo, ArcView,
MapInfo, SPAN, ERDAS เป็นต้น ส่วนการนำเข้าฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่
สามารถนำเข้าโดยโปรแกรม Spreadsheet หรือโปรแกรมทั่วไป เช่น Excel, Lotus, FoxPro, Word
หรือโปรแกรม GIS
2) การจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Cartographic
Representation) ข้อมูลประเภท Vector ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ประเภท คือ จุด ลายเส้น และพื้นที่
หรืออาณาบริเวณ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกจัดเก็บโดยอ้างอิงจากค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ ทั้งนี้รหัสของ
ข้อมูลอาจเรียงตามลำดับของการนำเข้า หรือเรียงตามค่ารหัสที่ถูกกำหนดโดยผู้ใช้ระบบ (User ID)
ยกเว้นข้อมูลกริดที่จัดเก็บตามตำแหน่งของแนวตั้ง (Column) และแนวนอน (Row)
3) ความสัมพันธ์ทางพื้นที่ (Spatial Topology) ข้อมูลประเภท Vector โดยทั่วไปจะมี
ระบบการจัดเก็บข้อมูลเฉพาะของข้อมูลแต่ละลักษณะ (Each Graphic Object) ซึ่งลักษณะ
ความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลบรรยายในระบบการจัดเก็บแบบนี้เรียกว่า ความสัมพันธ์เชิง
พื้นที่ (Spatial Topology) โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวใช้เนื้อที่น้อย สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้
รวดเร็ว และหลังจากได้สร้าง Topology เรียบร้อยแล้ว ข้อมูลต่างๆ สามารถนำมาวิเคราะห์เชิงพื้นที่ได้
4) การจัดเก็บและการจัดการฐานข้อมูล (Database) นิยมใช้โครงสร้างตามหลักการ
ของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลเชิง
สัมพันธ์ (Relational Database Management System: RDBMS) เพื่อการจัดการฐานข้อมูล เช่น
Microsoft Access, Oracle และ dBase ในการเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกราฟิกและข้อมูลลักษณะ
สัมพันธ์ได้ โดยตารางข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูลเชิงพื้นที่หรือที่เรียกว่า Attribute จะถูกจัดเก็บในรูปแบบ
ที่สัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้เป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องและง่ายต่อการปรับแก้และเรียกใช้ ข้อมูล
แต่ละเรื่องควรแยกเก็บเป็นคนละแฟ้มข้อมูล (File) และแยกจากข้อมูลกราฟิกหรือข้อมูลเชิงพื้นที่ แต่
ต้องมีรายละเอียดในรายการใดรายการหนึ่ง (Field) ที่มีค่าและคุณลักษณะ (ตัวเลขหรือตัวอักษร) ที่เหมือนกันเพื่อใช้เชื่อมโยงตารางข้อมูลเข้ากับข้อมูลเชิงพื้นที่ หรือเชื่อมโยงตารางข้อมูลหนึ่งกับอีก
ตารางหนึ่ง
การใช้ระบบฐานข้อมูลมีข้อดีดังต่อไปนี้
• ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การนำข้อมูลเรื่องเดียวกันมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
ในฐานข้อมูลหนึ่งและให้บริการแก่ผู้ใช้ซึ่งอาจมีได้มากกว่า 1 กลุ่ม เป็นการประหยัดทรัพยากรและมี
ความสะดวกในการควบคุมคุณภาพของข้อมูล
• เลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล ในการดำเนินการกับข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม ลบ
หรือแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลได้ เช่น กรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ และ กทม. ใน
ตารางที่ 1 หมายถึงจังหวัดเดียวกันถึงแม้จะพิมพ์ไม่เหมือนกัน เมื่อจัดเก็บในฐานข้อมูลโดยใช้รหัส
จังหวัดในการอ้างอิงดังรูปที่ 10 สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
• สามารถกำหนดสิทธิในการใช้ข้อมูลของผู้ใช้ได้ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลซึ่ง
เป็นศูนย์กลางและจัดการบริการให้กับผู้ใช้หลายกลุ่ม ผู้จัดการฐานข้อมูลสามารถกำหนดสิทธิในการใช้
ข้อมูลให้กับผู้ใช้แต่ละกลุ่มได้ตามระดับความจำเป็นในการใช้งาน
• สามารถควบคุมมาตรฐาน ผู้บริหารฐานข้อมูลเป็นผู้ควบคุมมาตรฐานด้านต่างๆ
ของข้อมูล การรวมข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลางทำให้การบริหารมาตรฐานดำเนินการได้สะดวก
• สามารถควบคุมความปลอดภัยของฐานข้อมูล เนื่องจากผู้ใช้หลายกลุ่มถูก
กำหนดมีสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลแตกต่างกันไป การกำหนดระดับของผู้ใช้จึงเป็นกลไกสำคัญในการ
รักษาความปลอดภัยของข้อมูล
• สามารถควบคุมความคงสภาพ (Integrity) ของข้อมูล ความคงสภาพขอข้อมูล
หมายถึง การที่ข้อมูลมีคุณสมบัติสอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น ข้อมูลจำนวนนักเรียนต้องมีค่าไม่
น้อยกว่า 0 เป็นต้น ในกระบวนการจัดการฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎความคงสภาพของข้อมูลได้
ประโยชน์ของการใช้ฐานข้อมูลจะเด่นชัดขึ้นสำหรับระบบใหญ่ๆ ซึ่งมีผู้ใช้หลายคน
และข้อมูลมีปริมาณมาก ซอฟต์แวร์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยทั่วไปไม่ได้เป็นระบบที่มีผู้ใช้หลาย
คน (Multi-user) ดังนั้นการใช้ฐานข้อมูลจึงมีจุดประสงค์เพื่อจัดการข้อมูลปริมาณมากๆ เท่านั้น
บทบาทของการจัดการฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะเด่นชัดขึ้น หากมีการใช้เรียกใช้
ข้อมูลเชิงพื้นที่และทำการวิเคราะห์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้น
ตามลำดับ

3.3 การวิเคราะห์ข้อมูล
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มีความสามารถในการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่
หลายๆ ชั้นข้อมูล (Layer) มาซ้อนทับกัน (Overlay) เพื่อทำการวิเคราะห์และกำหนดเงื่อนไขต่างๆ โดย
ใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ หรือตามแบบจำลอง (Model) ซึ่งอาจเป็นการเรียกค้นข้อมูลอย่างง่าย
หรือซับซ้อน เช่น โมเดลทางสถิติหรือโมเดลทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากชั้นข้อมูลต่างๆ ถูกจัดเก็บ
โดยอ้างอิงค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ มีการจัดเก็บอย่างมีระบบและประมวลผลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
ผลที่ได้รับจากการวิเคราะห์จะเป็นอีกชั้นข้อมูลหนึ่งที่มีลักษณะแตกต่างไปจากชั้นข้อมูลเดิม
การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีหลายรูปแบบ ซึ่งในเอกสารนี้จะ
บรรยายถึงการวิเคราะห์ 4 รูปแบบหลักๆ ดังนี้
3.3.1 พื้นที่กันชน
การสร้างแนวพื้นที่รอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะทางตามที่กำหนด เรียกว่า การสร้างพื้นที่
กันชน สำหรับข้อมูลแบบเวคเตอร์ สามารถสร้างพื้นที่กันชนรอบจุด เส้น และพื้นที่ ได้ ส่วนข้อมูล
ราสเตอร์ก็สามารถสร้างพื้นที่กันชนได้เช่นกัน แต่ด้วยลักษณะโครงสร้างข้อมูลซึ่งเป็นกริดเซลล์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากริดเซลล์มีขนาดใหญ่ การสร้างพื้นที่กันชนก็จะยิ่งมีความคลาดเคลื่อน
เชิงระยะทาง ดังนั้นการสร้างพื้นที่กันชนจึงมักจะใช้สำหรับข้อมูลแบบเวคเตอร์ สำหรับข้อมูล
ประเภทหนึ่งๆ สามารถสร้างพื้นที่กันชนได้หลายช่วง (Ring) ตามระยะทางที่กำหนด

3.3.2 การซ้อนทับข้อมูลเชิงพื้นที่
การซ้อนทับข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลหลายชั้นข้อมูลร่วมกัน โดยข้อมูล
เหล่านั้นต้องอยู่ในบริเวณเดียวกันและมีคุณลักษณะต่างกัน ผลจากการวิเคราะห์จะทำให้ได้ชั้นข้อมูล
ใหม่ เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต A โดยชั้นข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน
ประกอบด้วย การกระจายของสิ่งมีชีวิตชนิด X, Y และ Z ซึ่งมีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิต A ชั้นข้อมูลภูมิ
ประเทศ ชั้นข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ชั้นข้อมูลการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน

3.3.3 การวิเคราะห์โครงข่าย (Network Analysis)
ในการวิเคราะห์โครงข่ายจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลประเภทเส้น (Line) เท่านั้น โดย
ข้อมูลประเภทเส้นในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประกอบด้วยเส้นสมมติ เช่น เส้นรุ้ง เส้นแวง และเส้น
ขอบเขตการปกครอง ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็นข้อมูลประเภทเส้นที่ปรากฏอยู่จริง เช่น เส้นถนน เส้น
แม่น้ำ และเส้นทางสายไฟฟ้า ในการวิเคราะห์โครงข่ายจะวิเคราะห์เฉพาะข้อมูลเส้นที่ปรากฏอยู่จริง

3.3.4 การวิเคราะห์พื้นผิว (Surface Analysis)
การวิเคราะห์พื้นผิวเป็นการวิเคราะห์การกระจายของค่าตัวแปรหนึ่งซึ่งเปรียบเสมือน
เป็นมิติที่ 3 ของข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยข้อมูลเชิงพื้นที่มีค่าพิกัดตามแนวแกน X และ Y ส่วนตัวแปรที่นำมา
วิเคราะห์เป็นค่า Z ที่มีการกระจายตัวครอบคลุมทั้งพื้นที่ ตัวอย่างของค่า Z ได้แก่ ข้อมูลความสูงของ
พื้นที่ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และราคาที่ดิน เป็นต้น ผลจากการวิเคราะห์พื้นผิวสามารถแสดงเป็น
ภาพ 3 มิติให้เห็นถึงความแปรผันของข้อมูลด้วยลักษณะสูงต่ำของพื้นผิวนั้น การแสดงข้อมูลพื้นผิว
สามารถใช้โครงสร้างข้อมูลแบบเวคเตอร์โดยการใช้ Triangulated Irregular Network (TIN) หรือใช้
โครงสร้างแบบราสเตอร์โดยการใช้ Digital Elevation Model (DEM)

• TIN แสดงลักษณะของพื้นผิวโดยการใช้รูปสามเหลี่ยมหลายรูปซึ่งมีด้านประชิดกัน
และใช้จุดยอดร่วมกันเรียงต่อเนื่องกันไป โดยค่า Z จัดเก็บอยู่ที่จุดยอดของสามเหลี่ยม จุดเหล่านี้จะ
กระจายตัวไม่สม่ำเสมอ โดยพื้นที่ที่มีความแตกต่างของค่า Z มากๆ จุดจะอยู่ใกล้ๆ กัน แต่พื้นที่ที่มีค่า
Z ไม่แตกต่างกันนัก

• DEM มีลักษณะเป็นกริดเซลล์ขนาดเท่ากันเรียงต่อเนื่องกันครอบคลุมทั้งพื้นที่ ค่า
ประจำกริดเซลล์คือค่า Z ดังนั้นค่า Z ในพื้นที่จึงมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ

3.4 การแสดงผลข้อมูล
ผลที่ได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนำ เสนอหรือแสดงผลได้ทั้งบน
จอคอมพิวเตอร์ (Monitor) ผลิตออกเป็นเอกสาร (แผนที่และตาราง) โดยใช้เครื่องพิมพ์ หรือ Plotter
หรือสามารถแปลงข้อมูลเหล่านั้นไปสู่ระบบการทำงานในโปรแกรมอื่นๆ ในรูปแบบของแผนที่ (Map)
แผนภูมิ (Chart) หรือตาราง (Table) ได้

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กำเนิดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

อุบลราชธานี ดินแดนแห่งปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เป็นถิ่นกำเนิดของพระอาจารย์ทางวิปัสนา คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นต้น กล่าวกันว่า เมือง อุบลราชธานีเป็นต้นรากแห่งการขยายพระพุทธศาสนาและวัดวาอาราม ให้แพร่หลายยิ่งกว่าในทุก หัวเมืองในภาคอีสาน
เดิมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีจัดเฉพาะตามคุ้มวัดต่างๆ เท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444 เมืองอุบลราชธานีจัดงานบุญบั้งไฟ โดยทุกคุ้มจะนำบั้งไฟมารวมกันที่วัดหลวง ริมแม่น้ำมูล มีการแห่บั้งไฟไปรอบเมืองและจุดขึ้นไปบนท้องฟ้าทำให้เกิดอุบัติเหตุ บั้งไฟตกลงมา ถูกชาวบ้านตายในงาน มีการชกต่อย ตีรันฟันแทงกัน ก่อเหตุวุ่นวายไปทั้งงาน กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ สมัยนั้น ให้ยกเลิกงานประเพณีบุญบั้งไฟเสีย แล้วให้มาจัดงาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาแทน ในสมัยแรกๆ นั้นไม่มีการประกวดเทียนพรรษา แต่ชาวบ้านจะกล่าว ร่ำลือกันไปว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม เทียนคุ้มวัดนี้สวย ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ จึงเห็นควรให้มีการประกวดเทียนพรรษาก่อน แล้วแห่รอบ เมือง ก่อนจะนำไปถวายพระที่วัด
การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยชาวบ้านในแต่ละคุ้มวัด ก็จัดตกแต่งต้นเทียนของวัดตนให้สวยงาม นำมารวมกันที่บริเวณทุ่งศรีเมืองเพื่อประกวดแข่งขันกัน จากงานของชาวบ้าน ก็พัฒนามาสู่การสนับสนุนอย่างจริงจังจากส่วนราชการ พ่อค้า ห้างร้านเอกชน ร่วมกับประชาชน ทายกทายิกาคุ้มวัดต่างๆ และใน ปี พ.ศ. 2519 จังหวัดอุบลราชธานีได้เชิญ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท. ในขณะนั้น) มาสังเกตการณ์ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาทางจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้งานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานประเพณีระดับชาติ โดยเฉพาะในปีท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand 2541-2542) งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็น 1 ในงานประเพณีที่ถูกโปรโมตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติ
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนหลวงมาเป็นเทียนนำชัยขบวนแห่ แล้วจึงนำไปถวายยังอารามหลวงในจังหวัดอุบลราชธานี หมุนเวียนไปเป็นประจำทุกปี
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน
ภูมิปัญญาชาวบ้านในงานแห่เทียน
านประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะไปในตัว การสรรหาภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีฝีมือทางช่าง มีความรู้ ความชำนาญในเรื่อง การทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบน ต้นเทียน การทำเทียนให้เป็นลายไทย แล้วนำไปติดบนต้นเทียน การประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของช่างในท้องถิ่น ส่วนการจัดขวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายขอขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจาก วิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะที่งดงาม ดนตรีประกอบก็เป็น เครื่องดนตรีประจำถิ่น ผสมเข้ากับการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ ทำให้งานประเพณีนี้ยิ่งใหญ่ ประชาชนต่างเฝ้ารอคอย
ศิลปะการฟ้อนรำที่นิยมนำมาประกอบการแสดงในขบวนแห่ คือ การรำเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งกระลอ เซิ้งกระติบ เซิ้งสวิง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ซึ่งดัดแปลงมาจากการประกอบอาชีพในวิถีชีวิต ประจำวันทั้งสิ้น
งานแห่เทียนพรรษา เป็นงานที่ทำให้คนวัยรุ่น หนุ่มสาว ได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดและสัมผัส กับศิลปวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่การเข้าเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือ เป็นลูกมือช่างของทาง วัดในการแกะสลักทำลวดลายต้นเทียน ค้นคว้าหาวิธีการทำเพียรพรรษาให้วิจิตรพิศดาร งดงาม แต่ประหยัด การเข้าร่วมในขบวนแห่จะเป็นการผสมผสานระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เช่น การเล่นดนตรีพื้นบ้าน โปงลาง หรือเป่าแคน จะมีทั้งผู้สูงอายุและคนหนุ่มสาว ส่วนขบวนฟ้อนรำ จะใช้เด็กๆ รุ่นเยาว์ ถึงวัยหนุ่มสาวมากกว่าคนสูงวัย ซึ่งคาดหวังได้ว่า ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น จะสืบทอดต่อไปอีกยาวไกล

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรียนรู้เทคโนโลยี GIS เบื้องต้นกัน Part 1

1.ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้
ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการนำเข้า จัดเก็บ จัดเตรียม ดัดแปลง แก้ไข จัดการ และวิเคราะห์
พร้อมทั้งแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ ดังนั้น GIS จึงเป็นเครื่องมือที่มี
ประโยชน์เพื่อใช้ในการจัดการ และบริหารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสามารถ
ติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านพื้นที่ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นระบบที่เกี่ยวข้อง
กับระบบการไหลเวียนของข้อมูล และการผสมผสานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น ข้อมูลปฐมภูมิ
(Primary Data) หรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีคุณค่าและสามารถ
นำไปใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 5 ส่วน คือ ข้อมูล/สารสนเทศ
(Data/Information), เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ (Hardware), โปรแกรม (Software), และ
บุคลากร (User/People), และขั้นตอนการทำงาน (Procedure)

2.1 ข้อมูล (Data/Information)
ข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ควรเป็นข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Theme)
และเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการตอบคำถามต่างๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ เป็นข้อมูลที่มีความ
ถูกต้องและเชื่อถือได้ และเป็นปัจจุบันมากที่สุด โดยข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบ่งออกได้
เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) และข้อมูลอธิบาย (non-Spatial Data or Attribute
Data)
1. ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) เป็นข้อมูลที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
(Geo-Reference Data) ของรูปลักษณ์ของพื้นที่ (Graphic Feature) ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ ข้อมูลที่แสดง
ทิศทาง (Vector Data) และข้อมูลที่แสดงเป็นตารางกริด (Raster Data) โดยข้อมูลที่มีทิศทาง
ประกอบด้วยลักษณะ 3 อย่าง คือ
- ข้อมูลจุด (Point) เช่น ที่ตั้งหมู่บ้าน โรงเรียน หรือวัดเป็นต้น
- ข้อมูลเส้น (Line) เช่น ถนน แม่น้ำ เป็นต้น
- ข้อมูลพื้นที่ หรือเส้นรอบรูป (Polygon) เช่น แหล่งน้ำผิวดิน เป็นต้น

ข้อมูลประเภทราสเตอร์ (Raster Data) จะเป็นลักษณะตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ (Grid
Cell or Pixel) เท่ากันและต่อเนื่องกัน ซึ่งสามารถอ้างอิงค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ ขนาดของตารางกริด
หรือความละเอียด (Resolution) ในการเก็บข้อมูลจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งจำนวนแถว
(Row) และจำนวนคอลัมน์ (Column) ตัวอย่างข้อมูลที่จัดเก็บโดยใช้ตารางกริด เช่น ภาพดาวเทียม
หรือข้อมูลระดับค่าความสูง (Digital Elevation Model: DEM) เป็นต้น

2. ข้อมูลที่ไม่อยู่ในเชิงพื้นที่ (Non-spatial data) หรือข้อมูลเชิงเฉพาะ
(Attribute data) ข้อมูลเชิงเฉพาะ หมายถึง ลักษณะประจำตัว หรือลักษณะที่มีความแปรผันในการ
ชี้วัดปรากฏการณ์ต่างๆ ตามธรรมชาติ โดยจะระบุถึงสถานที่ที่ทำการศึกษา ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ
ลักษณะข้อมูลเชิงเฉพาะ (Attribute) อาจมีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน เช่น เส้นชั้นระดับความสูง (Terrain
Elevation) หรือเป็นลักษณะที่ไม่ต่อเนื่อง เช่น จำนวนพลเมือง (Number of Inhabitants) และชนิด
ของสิ่งปกคลุมดิน ( Land Cover Type ) เป็นต้น ค่าความแปรผันของลักษณะข้อมูลเชิงเฉพาะนี้ จะ
ทำการชี้วัดออกมาในรูปของตัวเลข (Numeric) โดยกำหนดเกณฑ์การวัดออกเป็น 3 ระดับ คือ
1) ระดับนามบัญญัติ (Nominal Level) เป็นระดับที่มีการชี้วัดข้อมูลอย่าง
หยาบๆ โดยจะกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ เพื่อจำแนกลักษณะของสิ่งต่างๆ เท่านั้น เช่น การใช้
ประโยชน์ที่ดินในพื้นหนึ่งจำแนกได้เป็น ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทุ่งหญ้า ฯลฯ เป็นต้น ลักษณะเหล่านี้อาจจะ
แทนค่าโดยตัวเลขเช่น 1 = ป่าไม้ 2 = ทุ่งหญ้า 3 = แหล่งน้ำ เป็นต้น ซึ่งค่าเหล่านี้ไม่สามารถทำการ
เปรียบเทียบกันได้ว่า 1 มากกว่า 2 หรือมากว่า 3 ในแง่ของค่าตัวเลข
2) ระดับเรียงลำดับ (Ordinal Level หรือ Ranking Level) เป็นการ
เปรียบเทียบลักษณะในแต่ละปัจจัยว่ามีขนานเล็กกว่า เท่ากัน หรือ ใหญ่กว่า เช่น พื้นที่ป่าไม่มีขนาด
ใหญ่กว่าพื้นที่ทุ่งหญ้าหรือ 1>2 หรือการให้สัญลักษณ์แทนลักษณะของถนน เช่น ถนนสายเอเชีย =
1 และถนน 2 เลน = 2 ถนนทางลูกรัง = 3 อาจจะบ่งบอกถึงความสำคัญว่า 1 สำคัญกว่า 2 แต่บอก
ไม่ได้ว่าสำคัญกว่าเป็นปริมาณเท่าใด

3) ระดับอันตรภาค หรืออัตราส่วน (Interval - Ratio Level) เป็นการ
พิจารณาถึงความสัมพันธ์ในระหว่างแต่ละปัจจัยของ Ordinal Level ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อย
เพียงใด เช่น พื้นที่ป่าไม้มีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ทุ่งหญ้า 2 เท่า หรือเส้นชั้นความสูงที่ระดับ 500 เมตร
สูงกว่าที่ระดับ 400 เมตรอยู่ 100 เมตร เป็นต้น
ดังนั้นลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial) และข้อมูลเชิงเฉพาะ (Attribute) นี้จะมี
ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยความสันพันธ์ดังกล่าวเป็นไปได้ทั้งในแบบต่อเนื่อง (Continuous)
และไม่ต่อเนื่อง (Discrete) เช่น แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) จะแสดงถึงเส้นระดับความ
สูงที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในแต่ละชั้นระดับความสูง
นั้นจะมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่ไม่ต่อเนื่อง โดยจะแปรผันไปตามปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่
เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น เป็นต้น
2.2 เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ
เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมกันเรียกว่า ระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) จะประกอบด้วย
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การนำเข้า เช่น Digitizer, Scanner, Global Positioning System (GPS),
อุปกรณ์อ่านข้อมูล เก็บรักษาข้อมูล และแสดงผลข้อมูล เช่น Printer Plotter เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์แต่ละ
ชนิดจะมีหน้าที่และคุณภาพแตกต่างกันออกไป

2.3 โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ (Software)
Software หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการระบบ และสั่งงานต่างๆ เพื่อให้ระบบ
ฮาร์ดแวร์ทำงาน หรือเรียกใช้ข้อมูล ที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลมาทำงานตามวัตถุประสงค์ โดยทั่วไป
ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จะประกอบด้วย หน่วยนำเข้าข้อมูล หน่วยเก็บ
ข้อมูลและการจัดการข้อมูล หน่วยวิเคราะห์ หน่วยแปลงข้อมูล หน่วยแสดงผลและหน่วยตอบโต้กับผู้ใช้
(User Interface)
2.4 บุคลากร (Human Resource)
บุคลากร จะประกอบด้วยนักวิเคราะห์หรือสร้างระบบ (Analyst) และผู้ใช้สารสนเทศ
(User) โดยผู้ใช้ระบบหรือผู้ชำนาญการ GIS จะต้องมีความชำนาญในหน้าที่ และได้รับการฝึกฝน
มาแล้วเป็นอย่างดี พร้อมที่จะทำงานได้เต็มความสามารถ โดยทั่วไปผู้ใช้ระบบจะเป็นผู้เลือกระบบ
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และสนองตอบความต้องการของหน่วยงาน ส่วน
ผู้ใช้สารสนเทศ (User) คือนักวางแผน หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจ (Decision-maker) เพื่อนำ
ข้อมูลมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

ระบาดวิทยาของมาลาเรีย

ระบาดวิทยาของโรคมาลาเรีย
องค์ประกอบทางระบาดวิทยา การเกิดโรคมาลาเรียได้ต้องอาศัยปัจจัยหลักทางด้านปัจจัยสิ่งแวดล้อม (อุษา เล็กอุทัย, 2540)
9.2.1 สภาพภูมิประเทศ มาลาเรียเป็นโรคที่พบได้ทั้งในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เนื่องจากยุงก้นปล้องเจริญเติบโตไม่ดีในอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส มาลาเรียมีขอบเขตการแพร่กระจายกว้างขวาง ระหว่างเส้นรุ้งที่ 64 องศาเซลเซียส เหนือ ถึงเส้นรุ้งที่ 32 องศาเซลเซียส ใต้ และครอบคลุมพื้นที่ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางถึง 400 เมตร จนถึงพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางถึง 2,600 เมตร  ยุงก้นปล้องจะออกหากินใกล้ๆ กับแหล่งน้ำที่มันเกิดไม่เกิน 2 3 กิโลเมตร จำนวนเลือดที่ดูดและจำนวนครั้งที่กัดขึ้นอยู่กับชนิดของยุงก้นปล้อง เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.3 3.9 ไมโครลิตรต่อครั้งหลังจากดูดเลือดแล้วโดยมากจะเกาะที่ผนังบ้านหรือเพดานก่อนแล้วจึงบินออกจากบ้าน  ซึ่งยุงก้นปล้องในแต่ละท้องที่จะมีความเป็นพาหะต่างกันด้วย
9.2.2 การสร้างบ้าน บ้านที่อยู่ใกล้แหล่งเพาะพันธุ์พาหะ มีความถี่ของการติดเชื้อมาลาเรียสูง ระยะเวลาที่อาศัยในหมู่บ้าน ประชากรที่อาศัยในพื้นที่ที่มีมาลาเรียนานกว่า 5 เดือน มีอัตราการติดเชื้อสูง การศึกษาของตวงพร วงศ์จันทร์พงษ์ (2533) พบว่า ระยะเวลาที่อยู่ในท้องถิ่นไม่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยด้วยโรคมาลาเรีย
 9.2.3 ฤดูกาล ฤดูแล้งและฤดูที่มีฝนตกในระยะเวลาสั้นๆ มีอัตราในการติดเชื้อและความรุนแรงสูงกว่าในฤดูที่มีฝนตกเป็นเวลานาน ส่วนการศึกษาใน Guinea Bissau พบว่าการติดเชื้อมาลาเรียในเด็กจะมีอาการไข้ หรือไม่มีไข้ที่มีการติดเชื้อตลอดปี จะรุนแรงในช่วงฤดูฝน

รู้จักโปรแกรม flash กัน


Macromedia Flash  คือเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้สร้างสรรค์งานแอนิเมชั่น ไม่ว่าเป็นการสร้าง ภาพนิ่ง(art work), โลโก้เคลื่อนไหวได้(animated logos), ภาพเคลื่อนไหว(animation), ภาพเคลื่อนไหวที่โต้ตอบได้(interactive movie) โดยคุณสมบัติต่างๆทำให้ Macromedia Flash สามารถสร้างเว็บเพจได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถช่วยถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ด้วยตัวของคุณเอง. 
ความต้องการของระบบ
การสร้างงานของโปรแกรม Macromedia Flash MX professional 2008 มีความต้องการ hardware and software ในการติดตั้ง ดังนี้
1.             กรณี Microsoft® Windows: เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่าเครื่องที่สามารถใช้  800 MHz Intel Pentium III processor หรือ เครื่องที่สามารถใช้งานระบบ Windows 2000, หรือ Windows XP โดยมีหน่วยความจำ (RAM) ไม่น้อยกว่า 256 MB (ควรเป็น 1 GB) มีพื้นที่ว่างใน ฮาร์ดดิสก์ไม่น้อยกว่า 710 MB การแสดงผลหน้าจอมีความละเอียด 1024x 768, 16 bit (ควรเป็น 32 bit)
2.             กรณี Macintosh: เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่าเครื่องที่สามารถใช้  600 MHz Mac OS X 10.3 หรือ 10.4 โดยมีหน่วยความจำ (RAM) ไม่น้อยกว่า 256 MB (ควรเป็น 1 GB)  มีพื้นที่ว่างใน ฮาร์ดดิสก์ไม่น้อยกว่า 360 MB การแสดงผลหน้าจอมีความละเอียด 1024x 768

เรื่องราวน่ารู้ของมาลาเลีย

มาลาเรีย
มาลาเรียเป็นโรคที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเขตร้อน  มียุงก้นปล่อง (Anophelines) เท่านั้นที่เป็นพาหะโรคมาลาเรีย   มีรายงานพบยุงก้นปล่องประมาณ  422 ชนิด (Species)  ทั่วโลก แต่ยุงก้นปล่องเพียง 68  ชนิดที่เป็นยุงพาหะของโรคมาลาเรีย  ในจำนวนนี้พบว่ามี  40  ชนิดที่เป็นยุงพาหะหลัก (Gilles and Warrel, 1993)   ในประเทศไทย มีรายงานพบยุงก้นปล่อง จำนวน 72  ชนิด  ในจำนวนนี้มียุงก้นปล่องที่พิสูจน์แล้วพบว่าเป็นยุงพาหะหลักเพียง 3  ชนิด  ที่มีความพร้อมต่อการรับเชื้อมาลาเรียสูง (High receptivity)  ดังนี้
                                                ยุงก้นปล่องชนิดมินิมัส                        (Anopheles minimus s.l.)
                                                ยุงก้นปล่องชนิดไดรัส                         (An. Dirus s.l.)
                                                ยุงก้นปล่องชนิดแมคคูลาตัส              (An. Maculates complex)
                                                ยุงพาหะรอง (Secondary Vector)
ได้แก่ยุงที่สงสัยว่าอาจเป็นพาหะนำเชื้อไข้มาลาเรียได้ มีความพร้อมต่อการรับเชื้อมาลาเรียปานกลาง (Moderate receptivity) ตรวจพบ Sporozoite ในต่อมน้ำลาย แต่มีบทบาทในการแพร่เชื้อน้อยกว่ายุงพาหะหลัก ยุงในกลุ่มนี้มี 3 ชนิด คือ
                                                ยุงก้นปล่องชนิดซันไดคัส                   (An. sundicus)
                                                ยุงก้นปล่องชนิดอโคไนตัส                 (An. aconitus)
                                                ยุงก้นปล่องชนิดซูโดวิวโมไร             (An. pseudowillmori)