วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทำไมต้องอ้วนเพราะเบียร์

เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าทำไม่คนไทยถึงเปรียบเทียบคนที่มีหุ่นตุ้ยนุ้ยว่าอ้วนเหมือนตุ่มเหมือนโอ่ง แล้วทำไมฝรั่งมังค่าเขาถึงบอกว่าคนที่มีพุงพลุ้ยเนี่ยอ้วนเพราะเบียร์ แล้ววันนี้นักวิจัยกลุ่มหนึ่งเขาเกิดพบว่า การบอกว่าคนเรานั้นอ้วนเพราะเบียร์เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง

นักวิจัยจากอังกฤษและสาธารณรัฐเช็กเกิดนึกสงสัยในคำเรียกขานดังกล่าวจึงได้ทำการสำรวจชาวเช็กเกือบ 2,000 คน ซึ่งเป็นที่รู้โดยทั่วกันว่าชาวเช็กนั้นเป็นนักดื่มเบียร์ตัวยง เพราะปริมาณการดื่มเบียร์ของชาวเช็กต่อคนนั้นมากกว่าคนชาติอื่น แล้วคณะวิจัยก็ได้พบว่า การมีพุงกับการดื่มเบียร์ปริมาณมากๆ ไม่เกี่ยวข้องกันเลย ดังนั้นการบอกว่าคนเราจะอ้วนเพราะดื่มเบียร์จึงเป็นการไม่ถูกต้อง

ทั้งนี้ ดร.มาร์ติน โบบัค จากยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน (University College London) และคณะวิจัยจากอินสติติวต์ ออฟ คลินิกคอล แอนด์ เอ็กซ์เพอริเมนทอล เมดิซีน (Institute of Clinical and Experimental Medicine) ในกรุงปราก ได้ให้หญิง 1,098 คน และชาย 891 คน ที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 64 ปี ทำแบบสอบถาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา โดยไม่มีการกล่าวถึงเครื่องดื่มอื่นๆ ทั้งสิ้น

จากการสำรวจพบว่า ชายชาวเช็กจะดื่มเบียร์โดยเฉลี่ยราว 3.1 ลิตรต่อสัปดาห์ ขณะที่ผู้หญิงจะดื่ม 0.3 ลิตรต่อสัปดาห์ โดยในจำนวนนี้มีชายอยู่ 3 คนที่ดื่มเบียร์อย่างหนัก คือดื่มราว 14 ลิตรต่อสัปดาห์ และมีหญิงเพียง 5 คนที่ดื่มถึง 7 ลิตรต่อสัปดาห์ โดยก่อนและหลังการดื่มเบียร์ คณะวิจัยจะให้แพทย์วัดขนาดของเอว และสะโพก ชั่งน้ำหนัก และบันทึกดัชนีมวลรวมของอาสาสมัครไว้ตรวจสอบด้วย

และคณะวิจัยก็พบว่า การมีพุงไม่เกี่ยวข้องกับการดื่มเบียร์เลยสักนิด โดยกล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้ของเขาชี้ให้เห็นว่า การกล่าวอ้างว่าคนอ้วนหรือมีพุงเพราะการดื่มเบียร์มากเกินไปจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

ด้านนักวิจัยจากอิตาลีชี้ว่า ผู้ชายทุกคนมีแนวโน้มที่จะอ้วนลงพุงได้ ตามความผันแปรของยีนของแต่ละคน ขณะที่ไนเจล เดนบี จากสมาคมโภชนาการแห่งอังกฤษกล่าวว่า ผู้ที่ได้รู้ข่าวนี้ก็ไม่ควรวิ่งแจ้นเข้าผับเข้าบาร์หรือไปหาลานเบียร์เพื่อซดเบียร์ให้หายอยาก เพราะไม่ว่าจะรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มชนิดใดก็ตามที่ผสมแอลกอฮอล์ก็สามารถอ้วนได้หากรับประทานมากเกินไป และหากต้องการดื่มจริงๆ ก็ควรดื่มแต่พอดี

Credit : บีบีซี นิวส์

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Leptospirosis

โรคเลปโตสไปโรซีส(โรคไข้ฉี่หนู)เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งป้องกันแก้ไข เพื่อควบคุมมิให้เกิดการระบาดลุกลามต่อไป
โรคเลปโตสไปโรซีส(โรคไข้ฉี่หนู) พบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว หน้าทำนา หรือหลังน้ำท่วม เพราะเป็นช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมเหมาะสมให้เอโรคมีชีวิตอยู่ได้นาน เนื่องจากมีน้ำมาก พื้นดินแฉะและช่วงที่น้ำเริ่มลด เชื่อจะอยู่หนาแน่นมากขึ้นกว่าช่วงที่น้ำหลาก โดยทั่วไปจะพบผู้ป่วยปีละ 3, 000-5,000 ราย ในปี พ.ศ. 2552 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 5,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 42 คน เนื่องจากมีเลือดออกในปอด ไตวาย ซึ่งทำให้มีอาการไอเป็นเลือด ปัสสาวะไม่ออกและช็อก ผู้ป่วยเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งในเมืองและชนบท แต่พบมากที่สุดคือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (สำนักโรคติดต่อทั่วไป, กระทรวงสาธารณสุข,2554) กลุ่มที่ติดเชื้อสูงสุดคือเกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพ ทำนา เลี้ยงสัตว์และกรรมกรรับจ้าง กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด อายุ 15-66 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสกับน้ำหรือโคลน ในขณะที่มีบาดแผลที่เท้า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลภาครัฐผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงในโรงพยาบาลชุมชน เป็นเงิน 1,800 บาท ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนต้องล้างไต ค่ารักษาจะเพิ่มขึ้นอีก 1,000 บาท รวมกับค่าจ่ายอื่นๆ ไม่รวมกับค่ารักษาพยาบาลในส่วนของรัฐ ซึ่งอยู่ระหว่าง 2,790-24,700 บาท ดังนั้นค่าใช้จ่ายรวมเป็น 4,590-26,500 บาท ปี พ.ศ.2543 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 13,461 ราย ค่าใช้จ่ายรวมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคฉี่หนู รวมเป็นเงิน 61,785.990-356,716.500 บาท (เสาวภา พรศิริพงษ์, และคนอื่นๆ,2544 ,บทคัดย่อ)
โรคเล็ปโตสไปโรซิส มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว (spirochete) ชื่อ เล็บโตสไปร่า อินเทอโรแกนส์ (Leptospira interrogans) เชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในท่อหลอดไตของสัตว์ได้หลายชนิด โดยมีหนูเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญที่สุด โดยที่สัตว์อาจจะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือ อาจจะตลอดชีวิตสัตว์ หลังจากถูกขับออกทางปัสสาวะจากสัตว์ที่มีเชื้อ ถ้าออกมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายเดือน เช่น ดิน, โคลน, แหล่งน้ำ, น้ำตก, แม่น้ำลำคลอง เป็นต้น โดยมีรายละเอียดของการติดเชื้อดังนี้
สัตว์นำโรค : ไม่พบมีการติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน โดยสัตว์ที่สามารถเป็นแหล่งรังโรค (มีการติดเชื้ออยู่ในท่อไต) และปล่อยเชื้อออกมาได้ มีหนูเป็นแหล่งรังโรคสำคัญ แต่ยังมีสัตว์อื่นอีก ได้แก่ สุกร, โค กระบือ, สุนัข, แรคคูน เป็นต้น
วิธีการติดต่อของโรค : ส่วนใหญ่คนได้รับเชื้อนี้โดย
1. การสัมผัสกับปัสสาวะ, เลือด หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีการติดเชื้อโดยตรง
2. การสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ เช่น
o การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
o การหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะ หรือของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
o เข้าผ่านเยื่อบุต่างๆ ซึ่งบางและอ่อนนุ่ม เช่น ตา และปาก
o ไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน
o ไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนานๆ ทำให้ผิวหนังเปื่อยยุ่ย
ระยะฟักตัวของโรค : ใช้เวลาประมาณ 2-30 วัน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงหลังได้รับเชื้อประมาณ
4-19 วัน(พรรณทิพย์ ฉายากุล, ตำราโรคติดเชื้อ 2, 2548.)


โรคเลปโตสไปโรซีส(โรคไข้ฉี่หนู) พบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว หน้าทำนา หรือหลังน้ำท่วม เพราะเป็นช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมเหมาะสมให้เอโรคมีชีวิตอยู่ได้นาน เนื่องจากมีน้ำมาก พื้นดินแฉะและช่วงที่น้ำเริ่มลด เชื่อจะอยู่หนาแน่นมากขึ้นกว่าช่วงที่น้ำหลาก โดยทั่วไปจะพบผู้ป่วยปีละ 3, 000-5,000 ราย ในปี พ.ศ. 2552 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 5,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 42 คน เนื่องจากมีเลือดออกในปอด ไตวาย ซึ่งทำให้มีอาการไอเป็นเลือด ปัสสาวะไม่ออกและช็อก ผู้ป่วยเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งในเมืองและชนบท แต่พบมากที่สุดคือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (สำนักโรคติดต่อทั่วไป, กระทรวงสาธารณสุข,2554) กลุ่มที่ติดเชื้อสูงสุดคือเกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพ ทำนา เลี้ยงสัตว์และกรรมกรรับจ้าง กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด อายุ 15-66 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสกับน้ำหรือโคลน ในขณะที่มีบาดแผลที่เท้า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลภาครัฐผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงในโรงพยาบาลชุมชน เป็นเงิน 1,800 บาท ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนต้องล้างไต ค่ารักษาจะเพิ่มขึ้นอีก 1,000 บาท รวมกับค่าจ่ายอื่นๆ ไม่รวมกับค่ารักษาพยาบาลในส่วนของรัฐ ซึ่งอยู่ระหว่าง 2,790-24,700 บาท ดังนั้นค่าใช้จ่ายรวมเป็น 4,590-26,500 บาท ปี พ.ศ.2543 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 13,461 ราย ค่าใช้จ่ายรวมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคฉี่หนู รวมเป็นเงิน 61,785.990-356,716.500 บาท

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปลูก....อะไร ก็ได้อย่างนั้น...

คติธรรม ที่ได้ …


เมื่อคุณปลูกความซื่อสัตย์ คุณก็จะได้รับความไว้วางใจ

เมื่อคุณปลูกความดี คุณก็จะได้รับมิตรภาพ

เมื่อคุณปลูกความอ่อนน้อมถ่อมตน คุณก็จะได้รับความยิ่งใหญ่

เมื่อคุณปลูกความพากเพียร คุณก็จะได้รับความสำเร็จ

เมื่อคุณปลูกความพิจารณา คุณก็จะได้รับความละเอียดลออ

เมื่อคุณปลูกความทำงานหนัก คุณก็จะได้รับความสำเร็จ

เมื่อคุณปลูกการให้อภัย คุณก็จะได้รับการคืนดี


ดังนั้น … ตรองดูสักนิดว่าคุณจะปลูกอะไร คุณก็สามารถกำหนดสิ่งที่คุณจะได้รับได้.

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เคยสงสัยกันบ้างมั้ยทำไม 1 วันถึงมี 24 ชั่วโมง

ปฏิทินเกิดขึ้นมาจากการที่นักวิทยาศาสตร์สังเกต และบันทึกการเปลี่ยนแปลง การขึ้น-ลงของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการผ่านพ้นไปในแต่ละวัน และกลายเป็นเดือน เป็นปี ปฏิทินในยุคแรก ใน 1 เดือน จะมี 29-30 วัน และในช่วง 1 เดือนนั้น ดวงจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงจากข้างขึ้นไปเป็นข้างแรม 1 รอบ เมื่อการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดครบ 12 รอบ จึงเกิดเป็น 12 เดือนใน 1 ปี แต่ในช่วง 1 ปีของปฏิทินที่เทียบจากการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์จะสั้นกว่าที่เป็นจริง ชาวอียิปต์จึงสร้างปฏิทินขึ้นใหม่โดยอาศัยการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์แทน ซึ่งจะได้ปฏิทินใหม่ที่มี 30-31 วัน ใน 1 เดือน และมี 365 วัน หรือ 12 เดือนใน 1 ปี

เมื่อมนุษย์เริ่มมีวิวัฒนาการมากขึ้น มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ต่างๆ มนุษย์จึงเริ่มมีการทำกิจกรรมมากขึ้นในแต่ละวัน สิ่งที่ตามมาก็คือความต้องการในการกำหนดเวลา เพื่อให้มีบทบาทในการกำหนดขอบเขตในการทำกิจกรรมของมนุษย์ในเรื่องต่างๆ เช่น การศึกษา การทำงาน การเล่นกีฬา เป็นต้น มนุษย์ใช้การสังเกตเงาจากดวงอาทิตย์ที่ทาบลงวัตถุบนพื้นโลกใน 1 วัน จึงเกิดการนับช่วงเวลาเป็น ชั่วโมง นาที และวินาทีขึ้น

แล้วทำไมถึงต้องมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เป็นวันพิเศษอีก 1 วัน ซึ่งจะเวียนมาในทุกๆ 4 ปี ทำให้ในปีนั้นมี 366 วันเกิดขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าจริงๆ แล้วโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบใช้เวลา 365 วันกับอีก 5 ชั่วโมง 48 นาที และ 45 วินาที เมื่อนำเวลาที่เกินมาในแต่ละปีนั้นมารวมเข้าด้วยกันในทุกรอบ 4 ปี ก็จะได้วันเพิ่มขึ้นมาอีก 1 วัน จึงเกิดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ขึ้น การกำหนดให้ในช่วงรอบ 4 ปี โดยที่ 3 ปีมี 365 วัน และอีก 1 ปีมี 366 วัน ทำให้ปฏิทินที่ได้มีความถูกต้องแม่นยำขึ้น

1 วัน มีกี่ชั่วโมงนั้นก็เพราะกำหนดจากระยะเวลาการหมุนของโลกรอบตัวเอง ส่วนหนึ่งปีมีกี่วันนั้นก็คิดมาจากระยะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ แต่ใครเป็นผู้กำหนดวันเวลานั้นไม่สามารถระบุชี้ชัดลงไปได้ ทั้งนี้ เพราะเวลานั้นเกิดจากการพัฒนาและเรียนรู้ของมนุษย์มานานหลายพันปี


มนุษย์สมัยโบราณเรียนรู้และกำหนดเวลาจากวงรอบทางดาราศาสตร์ โดย "วัน" มาจากการหมุนของโลกรอบแกนใน 24 ชั่วโมง (ปัจจุบันโลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 23.56. 1 ชั่วโมง) "เดือน" มาจากการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์รอบโลก ซึ่งเมื่อนับวันเทียบกับการโคจรของดวงอาทิตย์ก็พบว่าจันทร์เต็มดวงจะเวียนมาครบรอบใหม่ทุกๆ 29 .5 วัน ส่วนปีก็คือเวลาที่โลกใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ (365.242199 วัน)


credit: icphysics.com