โรคเลปโตสไปโรซีส(โรคไข้ฉี่หนู)เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งป้องกันแก้ไข เพื่อควบคุมมิให้เกิดการระบาดลุกลามต่อไป
โรคเลปโตสไปโรซีส(โรคไข้ฉี่หนู) พบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว หน้าทำนา หรือหลังน้ำท่วม เพราะเป็นช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมเหมาะสมให้เอโรคมีชีวิตอยู่ได้นาน เนื่องจากมีน้ำมาก พื้นดินแฉะและช่วงที่น้ำเริ่มลด เชื่อจะอยู่หนาแน่นมากขึ้นกว่าช่วงที่น้ำหลาก โดยทั่วไปจะพบผู้ป่วยปีละ 3, 000-5,000 ราย ในปี พ.ศ. 2552 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 5,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 42 คน เนื่องจากมีเลือดออกในปอด ไตวาย ซึ่งทำให้มีอาการไอเป็นเลือด ปัสสาวะไม่ออกและช็อก ผู้ป่วยเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งในเมืองและชนบท แต่พบมากที่สุดคือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (สำนักโรคติดต่อทั่วไป, กระทรวงสาธารณสุข,2554) กลุ่มที่ติดเชื้อสูงสุดคือเกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพ ทำนา เลี้ยงสัตว์และกรรมกรรับจ้าง กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด อายุ 15-66 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสกับน้ำหรือโคลน ในขณะที่มีบาดแผลที่เท้า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลภาครัฐผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงในโรงพยาบาลชุมชน เป็นเงิน 1,800 บาท ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนต้องล้างไต ค่ารักษาจะเพิ่มขึ้นอีก 1,000 บาท รวมกับค่าจ่ายอื่นๆ ไม่รวมกับค่ารักษาพยาบาลในส่วนของรัฐ ซึ่งอยู่ระหว่าง 2,790-24,700 บาท ดังนั้นค่าใช้จ่ายรวมเป็น 4,590-26,500 บาท ปี พ.ศ.2543 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 13,461 ราย ค่าใช้จ่ายรวมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคฉี่หนู รวมเป็นเงิน 61,785.990-356,716.500 บาท (เสาวภา พรศิริพงษ์, และคนอื่นๆ,2544 ,บทคัดย่อ)
โรคเล็ปโตสไปโรซิส มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว (spirochete) ชื่อ เล็บโตสไปร่า อินเทอโรแกนส์ (Leptospira interrogans) เชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในท่อหลอดไตของสัตว์ได้หลายชนิด โดยมีหนูเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญที่สุด โดยที่สัตว์อาจจะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือ อาจจะตลอดชีวิตสัตว์ หลังจากถูกขับออกทางปัสสาวะจากสัตว์ที่มีเชื้อ ถ้าออกมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายเดือน เช่น ดิน, โคลน, แหล่งน้ำ, น้ำตก, แม่น้ำลำคลอง เป็นต้น โดยมีรายละเอียดของการติดเชื้อดังนี้
สัตว์นำโรค : ไม่พบมีการติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน โดยสัตว์ที่สามารถเป็นแหล่งรังโรค (มีการติดเชื้ออยู่ในท่อไต) และปล่อยเชื้อออกมาได้ มีหนูเป็นแหล่งรังโรคสำคัญ แต่ยังมีสัตว์อื่นอีก ได้แก่ สุกร, โค กระบือ, สุนัข, แรคคูน เป็นต้น
วิธีการติดต่อของโรค : ส่วนใหญ่คนได้รับเชื้อนี้โดย
1. การสัมผัสกับปัสสาวะ, เลือด หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีการติดเชื้อโดยตรง
2. การสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ เช่น
o การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
o การหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะ หรือของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
o เข้าผ่านเยื่อบุต่างๆ ซึ่งบางและอ่อนนุ่ม เช่น ตา และปาก
o ไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน
o ไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนานๆ ทำให้ผิวหนังเปื่อยยุ่ย
ระยะฟักตัวของโรค : ใช้เวลาประมาณ 2-30 วัน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงหลังได้รับเชื้อประมาณ
4-19 วัน(พรรณทิพย์ ฉายากุล, ตำราโรคติดเชื้อ 2, 2548.)
โรคเลปโตสไปโรซีส(โรคไข้ฉี่หนู) พบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว หน้าทำนา หรือหลังน้ำท่วม เพราะเป็นช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมเหมาะสมให้เอโรคมีชีวิตอยู่ได้นาน เนื่องจากมีน้ำมาก พื้นดินแฉะและช่วงที่น้ำเริ่มลด เชื่อจะอยู่หนาแน่นมากขึ้นกว่าช่วงที่น้ำหลาก โดยทั่วไปจะพบผู้ป่วยปีละ 3, 000-5,000 ราย ในปี พ.ศ. 2552 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 5,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 42 คน เนื่องจากมีเลือดออกในปอด ไตวาย ซึ่งทำให้มีอาการไอเป็นเลือด ปัสสาวะไม่ออกและช็อก ผู้ป่วยเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งในเมืองและชนบท แต่พบมากที่สุดคือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (สำนักโรคติดต่อทั่วไป, กระทรวงสาธารณสุข,2554) กลุ่มที่ติดเชื้อสูงสุดคือเกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพ ทำนา เลี้ยงสัตว์และกรรมกรรับจ้าง กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด อายุ 15-66 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสกับน้ำหรือโคลน ในขณะที่มีบาดแผลที่เท้า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลภาครัฐผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงในโรงพยาบาลชุมชน เป็นเงิน 1,800 บาท ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนต้องล้างไต ค่ารักษาจะเพิ่มขึ้นอีก 1,000 บาท รวมกับค่าจ่ายอื่นๆ ไม่รวมกับค่ารักษาพยาบาลในส่วนของรัฐ ซึ่งอยู่ระหว่าง 2,790-24,700 บาท ดังนั้นค่าใช้จ่ายรวมเป็น 4,590-26,500 บาท ปี พ.ศ.2543 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 13,461 ราย ค่าใช้จ่ายรวมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคฉี่หนู รวมเป็นเงิน 61,785.990-356,716.500 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น