วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

15 วันของหลวงพี่น้องใต้ร่มเงาชายคาผ้าเหลืองของพระพุทธองค์(ภาคหนึ่ง)





หลายคนคงเฝ้าถามตลอดว่า ทำไมลูกผู้ชาย เกิดมาถ้ายังไม่ได้บวช เขาจะเรียกว่าคนดิบ เมื่อบวชแล้วเข้าจะเรียกคนสุกนานาเหตุผลที่ได้เคยได้ยินมา บ้างก็ว่าเป็นกุศโลบายของการที่ชายหนุ่มในวัยก่อนเบญจเพสหรือใกล้เคียงกันที่จะต้องบวชทดแทนคุณบิดามารดา บ้างก็ว่าการบวชเป็นเหมือนการทำให้บิดามารดา ได้มีโอกาสได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ แต่จะเท็จจริงประการใดนั้นไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้แน่ๆ แต่มีอยู่อย่างหนึ่ง ที่พิสูจน์แน่นอนและทันตาเห็นเมื่อตอนบวช นั่นก็คือ การทดแทนบุญคุณบิดามารดา ความปลื้มปิติ ความตื้นตันใจ ที่ออกมาจากแววตาที่ลายได้บวชทดแทนคุณนั้น มันเห็นได้อย่างชัดเจน....เหล่าบรรดาญาติมิตร เพื่อนฝูงต่างมาร่วมอนุโมทนาบุญกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง
ระยะเวลา 15 วันจะว่านาน มันก็นานแสนนานเหมือนเวลา 15 ปี ในบางความรู้สึก แต่จะว่าเร็วมันก็คงผ่านไปไวเหมือนโกหกเช่นกัน....แต่ถ้ามองแบบกลางๆ แล้ว ระยะเวลา 15 วันคงเป็นระยะเวลาที่มีความพอดีในหลายๆอย่าง ๆสำหรับคนวัยทำงานอย่างเราๆ (อันนี้ในความคิดผมเองนะ) พอดีแรกคือพอดีกับระยะเวลาในการศึกษาพระธรรมเป็นช่วงสั้นๆ อย่างน้อยก็คงให้ศีลแก่ญาติโยมได้บ้าง พอดีที่สองคือได้ห่างจากโลกมนุษย์ที่แสนวุ่นวาย ห่างจากสังคมที่แสนเบื่อหน่ายไปสักชั่วระยะหนึ่ง พอดีที่สามคือคงทำให้สมาธิ ความมุ่งมะนะในการที่จะทำงาน ในการที่จะอะไรๆ อย่างตั้งใจเพราะห่างหายไปนานพอสมควร
มาดูวิว่า วันๆ พระท่านต้องทำอะไรบ้าง.......
วันแรก....บวชเสร็จใหม่ยังงงๆ กับการเปลี่ยนสถานะจากคราวาสธรรมดา มาพระภิกษุบอกได้อย่างเดียวว่าทำอะไรไม่ถูก ต้องสังเกตหลวงตา และคอยทำตามท่านว่าท่านทำอะไรบ้าง เริ่มจากการคลุมผ้าจีวร ที่ยังคลุมไม่เป็นต้องคอยให้หลวงตาท่านช่วยสอนคลุมผ่าไตรจีวร ซึ่งดูแล้วไม่ง่ายเลย การคลุมผ้าไตรจีวรนั้นมีสองวิธีคือการคลุมผ้าออกไปบิณฑบาตตอนเช้า ซึ่งการคลุมแบบนี้จะให้ผ้าไตรจีวรปิดมิดชิดทั้งหมด โดยจะเปิดแง้มออกเมื่อตอนเปิดฝาบาตรรับบิณฑบาตเท่านั้น ส่วนอีกแบบเป็นการห่มแบบที่ใช้รับกิจนิมนต์และนั่งฉันท์ที่วัด....การนั่งการปฏิบัติตัวทุกอย่างต้องสำรวม ข้อห้ามมีอย่างมากมาย ผ่านไปอย่างงงๆ หรับวันแรก และยังมีความไม่แน่ใจอยู่ในหัวเสมอว่า เราจะอยู่ครบไหม 15 วัน....
วันที่ 2 เอ๊ะ...นึกไปนึกมาไวเหมือนกัน แป๊บเดียว 2 วันละเหลืออีก แค่ 13 วันต้องทำได้สิน่า...แต่ก็ไม่ง่ายสำหรับการเป็นสงฆ์ หลายๆคำสอนจากพระอาจารย์เริ่มมาให้พระใหม่ได้เรียนรู้และศึกษา เสร็จกิจตอนเช้า วันนี้มีงานโยธาที่วัดงานเทคอนกรีตถนน เลยดีหน่อยมีผู้คนมาวัดเยอะแยะไปหมด แต่ก็วุ่นวายพอดู แถมโยมพ่อมาร้องให้ต่อหน้าให้เห็นถึงความปลาบปลื้ม ก็เลยพลอยทำให้คิดถึงบ้านไปใหญ่
วันที่ 3...ผ่านไปสามวันเริ่มปรับตัวได้มากขึ้น แต่วันนี้ก็ยังคึกคักเพราะมีงานโยธาที่วัด มีการเทพื้นคอนกรีตที่ถนนรอบๆวัด คนมาเหมือนทำบุญกฐินก็ดีเหมือนกันนะไม่เหงาดี ตอนที่ทำงาน ตอนที่ทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมๆกับโยม แต่เมื่อมาจำวัด มาท่องหนังสือ ก็อดคิดเหงาๆ ไม่ได้ เพราะ เป็นโรคอยู่คนเดียวไม่ค่อยจะได้...แต่วันนี้ดีหน่อยมีพระอาจารย์จากทาง อ.เสนาคนิคม มาจำวัดด้วยสักสี่-ห้าวัน เลยทำให้ไม่เหงาเท่าไหร่ พระอาจารย์ท่านนี้เป็นพระอาจารย์สวด จบการศึกษาระดับ ป.โท แล้ว ถือว่าไม่ธรรมดา ก็ได้ท่านเป็นเพื่อนสนทนาในหลายๆเรื่องถือว่าดี แต่ก็ยังอดกังวล(ตลอดระยะเวลาที่อยู่วัดมา) คือการให้ศีลที่ยังท่องไม่ได้ และการคลุมผ้าไตรตอนออกไปบิณฑบาตตอนเช้า ใครที่ว่าง่ายๆ ลองมาคลุมดูแล้วจะรู้ว่าไม่ง่าย....
วันที่ 4 และ 5 ขอรวบทีเดียวสองวันละกันเพราะวันที่ 4 ยุ่งมากจนลืมเขียน พระอาจารย์พาทำงานวัดจนเพลินเลยเถิดถึงค่ำๆ ไล่ไปจากกวาดเศษวัสดุ เศษใบไม้ในวัดจนสะอาดสะอ้านดูดีมาก ถือว่าผ่านไปเร็วมากสำหรับวันที่ 4 ส่วนวันที่ 5 นั้นตอนนี้บอกได้คำเดียวว่าดีใจเล็กๆ นี่ผ่านไปหนึ่งในสามของสิบห้าแล้วเหรอนี่ผ่านไปแป๊บเดียวไวเหมือนกันแฮะ...แต่พึ่งจะคลุมผ้าได้เอง การให้ศีลให้พรโยมนั้นยังท่องไม่ได้เลย...มัวแต่ทำหน้าที่ของพระใหม่ ทำงานปัดๆ กวาด ๆ วัดอยู่นั่นเอง
แต่วันนี้ช่วงบ่ายๆ วันนี้ต้องเตรียมโต๊ะสำหรับวางดอกไม้ธูปเทียน และวางบาตรเนื่องจากพรุ่งนี้เป็นวันพระ ไม่ได้ออกไปบิณฑบาต จะมีญาติโยมมาใส่บาตรที่วัด หรือภาษาอีสานเรียกว่าวันสินนั่นเอง
วันนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงบางอย่างว่า ถ้าอยู่คนเดียวนี่เวลานี่มันนานมาก และบอกไม่ถูกว่าอาการเดิมๆ เริ่มกลับมาคือคิดถึงบ้าน และเหงา ๆ เพราะช่วงบ่าย พระอาจารย์ท่านไปเยี่ยมพระอุปชา หลวงปู่อีกท่านก็ไม่อยู่ ส่วนอีกท่าน ท่านก็อยู่เงียบๆ เลยเป็นที่สรุปว่า อย่าพยายามจำวัดอยู่ในกุฏิ ควรเดินๆหาอะไรทำแก้เครียด (หลายคนคงคามว่าเป็นพระแล้วยังเครียดยังไม่ติดทางโลกอีกเหรอ??) ตอบได้เลยว่าเรามาเป็นสงฆ์ทำหน้าที่ลูกผู้ชายตอบแทนคุณบิดามารดา แต่เราก็ต้องคอดให้รอบคอบว่า เรามาภาระอะไรบ้างที่ยังค้างอยู่ หรือเมื่อลาสิกขาบทแล้วเราจะต้องทำต่อไป....พรุ่งนี้พระอาจารย์ท่านก็จะกลับวัดท่านแล้ว ก็คงเหลือพระที่นี่สามรูปรวมเราด้วยแต่คงเพิ่มความเบื่อเข้ามาไม่น้อย เพราะคงต้องอยู่คนเดียวไปอีกสัปดาห์เศษโดยประมาณ....
วันที่หก วันที่ท่านมหากลับไป…” ตอนเช้าๆ ถึงเพลดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงเวลาชิวๆ แบบวันเดิมๆ วันนี้เป็นวันพระไม่ได้ออกบิณฑบาต ตอนเช้าเพราะมีญาติโยมมาทำบุญที่วัดคึกคักน่าดู พระก็ต้องคลุมผ้าไตรจีวรแบบเต็มยศ เลยว่างั้น คือคลุมดองมิดชิด แถมคาดผ้าสังฆา (ผ้าพาดที่บ่าด้านซ้าย) เป็นวันแรกที่ได้ซองจากการเทศน์เพราะมีเหล่าบรรดาผู้ใจบุญมาทำบุญ เยอะแยะได้ซองมาครั้งแรกในชีวิตเป็นเงิน 80 บาท ในใจก็ไม่ได้คิดอยากจำได้อะไรหรอกเพียงแต่มีผู้นำมาถวายก็ต้องรับไว้ เพราะพระไม่สามารถปฏิเสธการบริจาค หรือการทำบุญจากโยมได้ แต่เมื่อหลังฉันท์เพลเสร็จ เหตุการณ์สำคัญก็เกิดขึ้นเมื่อโยมเลี้ยง มานิมนต์พระในวัดรวมถึงพระลูกวัดไปสวดถอดสิ่งไม่ดีที่เถียงนาของโยมเลี้ยงเอง ตั้งแต่เกิดมาก็พึ่งเคยเห็นเป็นครั้งนี้ละเป็นการทำพิธีง่ายๆ โดยการใช้กระทงหมู(กระทงที่ทำด้วยเปลือกสดๆของต้นกล้วย ใส่ของกิน คำหมากและพลู) 4 อัน  ไปวางไว้ 4 มุมของเถียงนาและปักด้ายสายสิญจน์ ทั้งสี่ทิศ โดยท่านมหาฯ ได้ทำการสวดแผ่เมตตา เสร็จแล้วหลวงปู่ ท่านก็สวดอีกสองบท เป็นอันเสร็จพิธี เก็บด้าย เสาปักด้าย และกระทง ทำไปวางไว้บนทางสี่แพร่ง ซึ่งคำคนแก่โบราณท่านเชื่อว่า เป็นการนำมาหลบซ่อนจากสิ่งไม่ดี งานนี้ได้ซองปัจจัยมา 300 บาท (โอ....อะไรกันนี่) กลับมาถึงวัดงานโยธายังรออยู่ คือการเกลี่ยหินลูกรังลงขอบทางคอนกรีตที่พึ่งเทเสร็จไป พร้อมกับรถไถสองคัน เล่นเอาจนบ่ายสี่โมงเย็น พอมาถึงเวลาค่ำๆ อีกทีพึ่งรู้ตัวว่าท่านมหาฯ คู่สนทนาท่านได้กลับวัดของท่านที่ อ.เสนาฯ ไปแล้ว ความเงียบเข้ามาเยือนเพราะไม่มีคู่สนทนา....ต่อไปก็คงต้องตั้งใจสวดมนต์สามบทที่ท่านมหาได้ให้เป็นการบ้านให้ได้ ดังคำท่านมหาฯ ว่าไว้ มาอยู่วัดไม่หมั่นสวดมนต์ บุญก็ไม่บังเกิด
โดยบทแรกจะใช้สวดก่อนฉันท์เช้าคือบท
ยะถา วาริวะหา ปูรา              ปะริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง               เปตานัง อุปกัปปะติ
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง               ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา              จันโท ปัณณะระโส ยะถา
มะณิ โชติระโส ยะถา

สัพพี ติโย วิวัชชันตุ                  สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย             สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
สัพพี ติโย วิวัชชันตุ                  สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย             สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
สัพพี ติโย วิวัชชันตุ                  สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย             สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อภิวทะนะสีลิสสะ                   นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ             อายุ วัณโณ สุขัง พลังฯ

ส่วนบทที่สองคือบทให้ศิล
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา
สีเลนะ นิพพุตัง ยันติ สันมา สีลัง วิโสธะเย

ส่วนบทสุดท้ายคือบทสวดสำหรับฉันท์เพล
สัพพะโรคะวินิมุตโต               สัพพะสันตาปะวัชชิโต
สัพพะเวระมะติกกันโต              นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะฯ
สัพพิติโย วิวะชชันตุ                 สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มาเต ภะวัตสันตะราโย              สุขึ ทีฆายุโก ภะวะ
อภิวทะนะสีลิสสะ                   นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ             อายุ วัณโณ สุขัง พลังฯ

ทั้งสามบทนี้พระอาจารย์มหาฯ ท่านว่าควรท่องให้ได้เพราะบวชตั้ง 15 วัน....
แต่ในอยากท่องบทนี้เร็วๆมากกว่า...
สิกขัง ปัจจักจามิ คิหีติ มัง มาเรถะ
ข้าพเจ้าลาสิกขา ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นคฤหัสถ์
และ
เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะวะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ อุปาสะกัตตัง สังโฆ ธาเรตุ

โดยทั้งสองบทนี้คือ คำสาสิกขาบทและ คำแสดงตนเป็นอุบาสก  แต่ก็ต้องรอไปก่อนเพราะยังไม่ถึงเวลา ต้องมุ่งมั่นทำ ณ ปัจจุบันให้ดีที่สุด ความห่วงทั้งโยมพ่อ โยมแม่ ทั้งเพื่อฝูง ทั้งสีกาที่อยู่ทางนครหลวงเวียงจันทร์นั้นลืมไปก่อน....


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น